โครงการสายไฟฟ้าลงดิน ล่าสุด MEA แก้ไขฝาท่อก่อสร้าง สายไฟฟ้าใต้ดิน ถนนวิทยุ และสารสิน ด้วยวิธีใหม่เสร็จสิ้นแล้ว พร้อมรายงานผล กทม. 21 มิ.ย. นี้ เปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศ เป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน โครงการสายไฟฟ้าลงดิน ล่าสุด จากกรณี กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีคำสั่งระงับการก่อสร้างโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินของ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง ในพื้นที่ถนนวิทยุ และถนนสารสิน เป็นระยะเวลา 3 วัน เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขฝาบ่อนั้น
การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ขอชี้แจงว่าได้รับทราบปัญหาดังกล่าวมาก่อนหน้านี้
และล่าสุดได้เร่งให้ผู้รับเหมาดำเนินการแก้ไขเสร็จสิ้นแล้วในวันที่ 19 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยผู้รับเหมาได้ดำเนินการแก้ไขตามรูปแบบถนนพระราม 3 ตามที่ กทม. พิจารณาแล้วว่ามีความเรียบร้อยปลอดภัย โดยปรับเปลี่ยนแบบฝาบ่อพักให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และลดจำนวนฝาบ่อลงเพื่อลดพื้นที่ขรุขระระหว่างรอยต่อฝาบ่อ รวมถึงการเทคอนกรีตเต็มพื้นที่รอบฝาบ่อเพื่อเพิ่มความราบเรียบและสม่ำเสมอ ซึ่งในวันนี้ (21 มิถุนายน 2565) MEA ได้ส่งเอกสารรายงานผลการแก้ไขอย่างเป็นทางการให้สำนักการโยธา กทม. พิจารณาเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ MEA ในฐานะผู้ดำเนินโครงการ ต้องขออภัยต่อผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ และได้กำชับผู้รับเหมาให้ปฏิบัติงานด้วยความเรียบร้อย และระมัดระวังอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอันดับแรก รวมถึงการเพิ่มจำนวนการตรวจสอบฝาบ่อพักเพื่อวางมาตรการป้องกันก่อนที่จะเกิดอุบัติเหตุกับประชาชน
เหตุ ไฟไหม้บ่อนไก่ล่าสุด เพลิงสงบแล้ว เร่งตามหาสาเหตุต่อไป ขณะที่ ชัชชาติ แว้นเทศกิจไปจุดเกิดเหตุ บ่อนไก่ไฟไหม้ จากที่เมื่อช่วงเวลาประมาณ 13.00 น. ได้เกิดเหตุ เพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชน ภายในชุมชนบ่อนไก่ ถนนพระราม4 เขตปทุมวัน เพลิงอยู่ระหว่างการลุกลาม ขณะนี้ไหม้ไปแล้วประมาณ 5-6 หลังคาเรือน เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างเร่งใช้น้ำเข้าควบคุมสถานการณ์
ล่าสุดนั้น มีรายงานว่า เหตุ บ่อนไก่ไฟไหม้ นั้นที่เกิดเหตุไฟสงบลงแล้ว อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานชัดเจนถึงรายละเอียดของเหตุการณ์ รวมถึงสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้
ขณะเดียวกัน นาย ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบที่เกิดเหตุแล้ว โดย นาย ชัชชาติ ได้นั่งจักรยานยนต์เทศกิจไปยังจุดเกิดเหตุ นาย ชัชชาติ กล่าวสั้นๆ ว่า “ชุมชนบ่อนไก่ปัญหาคือ พื้นที่เข้าถึงยาก ต้องลงไปดูการเข้าถึงของดับเพลิง อุปกรณ์ดับเพลิงก็สำคัญ 10 นาทีแรกสำคัญ คงต้องไปดูว่าจะต้องมีจุดที่ต้องปรับปรุงอย่างไร”
ขบ. แจง เลขสายรถเมล์ใหม่ จะติดคู่เลขเก่าคู่ 1 ปี พร้อมนำเทคโนโลยีช่วยเหลือ
กรมการขนส่งทางบก ชี้แจงถึงกระแสดราม่าเปลี่ยน เลขสายรถเมล์ใหม่ ยืนยันจะติดคู่เลขเก่าเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อลดความสับสน นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ออกมาชี้แจงถึงกรณีที่มีการแชร์ต่อกันโลกออกนไลน์ว่าด้วยเรื่องของ หมายเลขสายรถเมล์ ที่มีวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ว่า ที่มาของการปรับเปลี่ยนเลขสายรถเมล์ในขณะนี้เป็นไปตามแผนแม่บทพัฒนาระบบรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งศึกษาโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 และมีการรับฟังความคิดเห็นในเบื้องต้นไปด้วยแล้ว
โดยทาง ขบ. อธิบายว่า เลขสายรถเมล์จะแบ่งเป็น 4 โซน ซึ่งใช้หลักการแบ่งพื้นที่การเดินรถของจุดต้นทางตามทิศของกรุงเทพมหานคร คือ เลขแรกเป็นเลขโซน และตัวเลขหลังเป็นเลขสาย โซนที่ 1 ทิศเหนือ (กรุงเทพฯ โซนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนพหลโยธิน) ขึ้นต้นด้วย 1-เลขสาย (1-1 ถึง 1-68),
โซนที่ 2 ทิศตะวันตก (กรุงเทพฯ ชั้นในและโซนตะวันตกเฉียงเหนือ) ขึ้นต้นด้วย 2-เลขสาย (2-1 ถึง 2-56), โซนที่ 3 ทิศตะวันออก (กรุงเทพฯ โซนตะวันออกเฉียงใต้ : ถนนสุขุมวิท) ขึ้นต้นด้วย 3-เลขสาย (3-1 ถึง 3-56) และโซนที่ 4 ทิศใต้ (กรุงเทพฯ โซนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ ถนนเพชรเกษม) ขึ้นต้นด้วย 4-เลขสาย (4-1 ถึง 4-71) ซึ่งแตกต่างจากหมายเลขสายรถเดิมที่มีการเรียงตัวเลขสายไปเรื่อยๆ เมื่อมีเส้นทางใหม่ก็เพิ่มตัวเลขเข้าไป
นายจิรุตม์ กล่าวต่อว่า ขณะที่สายรถเมล์ใหม่นี้จะมีเลขโซนอยู่ด้านหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทราบว่ารถเมล์สายนี้มีต้นทางอยู่ในพื้นที่ใด ถนนสายใด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ทุกกลุ่ม แม้แต่ผู้ที่ไม่ค่อยได้ใช้รถเมล์และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะมาใช้รถเมล์เดินทางในเมืองที่มีข้อมูลนี้ก็จะทราบว่าจะเดินทางจากที่ไหนไปที่ไหน จะต้องขึ้นรถเมล์ในโซนใดหรือสายใด
นอกจากนี้ในช่วงการเปลี่ยนผ่านปฏิรูปเส้นทางนี้เพื่อป้องกันความสับสนของของผู้ใช้บริการ กรมการขนส่งทางบกจึงได้มอบหมายองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. และรถร่วมเอกชน ให้ดำเนินการใส่เลขสายเดิมควบคู่กับเลขสายใหม่กำกับหน้ารถไว้ด้วย ซึ่งจะใส่เลขสายเดิมกำกับเลขสายใหม่ไว้ไม่น้อยกว่า 1 ปี เพื่อให้ประชาชนทราบแนวเส้นทางต่างๆ ในการเดินทาง จนกว่าประชาชนจะเกิดความคุ้นเคยหลังเริ่มปรับเปลี่ยนสาย รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบการเปลี่ยนเลขสายนี้บนรถเมล์และบริเวณป้ายรถเมล์ และแจกแผ่นพับแก่ผู้โดยสาร
ในอนาคตจะมีการนำเทคโนโลยี “แอปพลิเคชัน” มาช่วยในการเดินทาง เพื่อเป็นข้อมูลการเดินทางและเกิดความสะดวกกับผู้ใช้บริการรถเมล์ในพื้นที่เมืองทั้งหมดด้วย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาและพัฒนาแอปพลิเคชันขึ้นให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปเส้นทางฯ โดยจะนำระบบ GPS มาใช้ร่วมกับระบบในแอปพลิเคชัน เมื่อผู้เดินทางเข้าใช้งานแอปพลิเคชันก็จะทราบว่า หากเดินทางจากต้นทางนี้ไปปลายทางที่ไหนจะใช้รถเมล์สายใด ระยะทางเท่าใด และใช้เวลาในการเดินทางเท่าไร เชื่อว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการอย่างมาก
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง